วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แผนการสอน วิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
ชีวิตและสิ่งแวดล้อม แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
ตอนที่ 2 ประชากรและทรัพยากรธรรมชาติ
เวลา 7 ชั่วโมง

สาระสำคัญ
ดิน น้ำ อากาศ สัตว์ป่า ป่าไม้ และพลังงาน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญและจำเป็น
ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอย่างรวดเร็วทำให้มนุษย์มีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น มนุษย์จึงนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาการใช้สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ปริมาณของทรัพยากรธรรมชาติลดลง นอกจากนี้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่เห็นคุณค่า ย่อมก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมสภาพลง รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ด้วย ดังนั้นเราจึงต้องทำการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้วยการให้ความรู้และสร้างความตระหนักให้ทุกคนเห็นคุณค่าของการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สิ่งเหล่านี้ดำรงสภาพและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. สำรวจ ทดลอง และอธิบายการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร
2. สำรวจวิเคราะห์และอธิบายเกี่ยวกับสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
3. เสนอแนวคิดในการดูแลรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
4. อาสาสมัครเป็นกลุ่มร่วมป้องกันและเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
เนื้อหาสาระ
- ประชากรมนุษย์
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
- การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาที่ยั่งยืน
กระบวนการจัดการเรียนรู้
ครูตรวจสอบความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน โดยให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน แล้วแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 13 ประชากรมนุษย์และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประชากรมนุษย์ต่อ ทรัพยากรธรรมชาติ เวลา 2 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรได้
2. อธิบายผลกระทบของการเพิ่มประชากรต่อทรัพยากรธรรมชาติได้
3. อธิบายเกี่ยวกับสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นได้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูสนทนากับผู้เรียนเกี่ยวกับจำนวนประชากรของเมืองไทย อาจจะเน้นไปที่การกระจายตัวของ
ประชากร และความหนาแน่นของประชากร โดยเปรียบเทียบระหว่างชุมชนเมืองและชนบท เพื่อ
เชื่อมโยงไปสู่การจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประชากรมนุษย์และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประชากร
มนุษย์ต่อทรัพยากรธรรมชาติ
ขั้นสอน
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นสร้างความสนใจ
1) ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับความหมายของประชากร โดยตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่ประเด็นการอภิปราย ดังนี้
– นักเรียนคิดว่าประชากรหมายถึงอะไร
– คำว่าประชากรสามารถใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น แมลงปอ นกปากห่าง
ต้นข้าวโพดหรือผักตบชวาได้หรือไม่ อย่างไร
– การบอกจำนวนประชากรจะต้องระบุอะไรบ้าง
2) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น
2. ขั้นสำรวจและค้นหา
1) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 3-5 คน ศึกษาใบงานที่ 15 หรือกิจกรรมที่ 15 เรื่อง ผลกระทบของการเพิ่มประชากรต่อทรัพยากรธรรมชาติ ในหนังสือเรียน
2) ครูซักถามขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม และอธิบายสิ่งที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ
3) นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาสถิติประชากรของประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2454-2547 ตามประเด็นการศึกษาในกิจกรรมที่ 15 แล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจาก
การเพิ่มประชากรต่อทรัพยากรธรรมชาติ และผลกระทบด้านอื่น ๆ ตลอดจนร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มประชากร
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาอภิปรายผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
2) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งอาจจะได้ข้อสรุป ดังนี้
– การเพิ่มประชากรไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2545-2547 แต่ละช่วงมีลักษณะ
การเพิ่มที่แตกต่างกัน คือ ในช่วงแรก (ปี พ.ศ. 2454-2490) จะมีการเพิ่มประชากรอย่างช้า ๆ เนื่องจากมีอัตราการตายสูง เพราะการแพทย์และการสาธารณสุขยังไม่เจริญ แต่ช่วงปี พ.ศ. 2491-2513 ประชากรจะเพิ่มอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และการสาธารณสุขมากขึ้น ทำให้อัตราการตายน้อยลงและอัตราการเกิดสูง เพราะรัฐบาลส่งเสริมให้มีบุตรเพิ่มมากขึ้น ส่วนช่วงปี พ.ศ. 2514-2547 นั้น รัฐบาลนำนโยบายการส่งเสริมการวางแผนครอบครัวมาใช้ ทำให้อัตราการเพิ่มของประชากรเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ
– การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วมีผลทำให้เกิดปัญหาด้านต่าง ๆ ตามมา ดังนี้
(1) ปัญหาการบริโภค
(2) ปัญหาการประกอบอาชีพ
(3) ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
– แนวทางในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มประชากร มีดังนี้
(1) ส่งเสริมการวางแผนครอบครัว
(2) รักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
(3) รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า จัดการอย่างถูกวิธี
(4) ให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์
3) ครูอธิบายเนื้อหาในหนังสือเรียนเพิ่มเติม แล้วให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม
4. ขั้นขยายความรู้
ครูให้นักเรียนได้ดูวีดิทัศน์เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากการเพิ่มประชากร
5. ขั้นประเมิน
1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใด
บ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการ
แก้ไขอย่างไรบ้าง
3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
– ประชากรไทยระหว่างช่วง พ.ศ. 2491-2513 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากสาเหตุใด
– รัฐบาลใช้นโยบายอะไรในการลดอัตราการเพิ่มของประชากร
– การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาใดตามมาบ้าง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญ เรื่อง ประชากรมนุษย์และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประชากรมนุษย์ต่อทรัพยากรธรรมชาติ จากการปฏิบัติกิจกรรมและที่ได้เรียนรู้


การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 14 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เวลา 3 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายเกี่ยวกับสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นได้
2. เข้าใจหลักการและแนวคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. บอกแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. เสนอแนะแนวทางการร่วมมือกับชุมชนในการวางแผนแก้ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นกับระบบนิเวศที่นักเรียนอาศัยอยู่ได้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั่วไปในท้องถิ่นที่นักเรียนอาศัยอยู่ จากนั้น
ตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่ประเด็นอภิปราย ดังนี้
– ในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมอะไรบ้าง
– นักเรียนคิดว่าจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นได้อย่างไร
2. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การจัดการ
เรียนรู้ เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขั้นสอน
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นสร้างความสนใจ
ครูแนะนำนักเรียนว่าต่อไปจะได้ปฏิบัติกิจกรรม โดยจะให้นักเรียนสมมติบทบาทตัวเองว่าเป็น
พัฒนากรหรือนักพัฒนาชุมชน แล้วลองวางแผนกันว่าจะแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างไร
2. ขั้นสำรวจและค้นหา
1) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 4-5 คน ศึกษาใบงานที่ 16 หรือกิจกรรมที่ 16 เรื่อง พัฒนากร–พัฒนาการ ในหนังสือเรียน
3) นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศของชุมชนที่
นักเรียนอาศัยอยู่ แล้วเลือกมาศึกษา 1 ปัญหา โดยไม่ให้ซ้ำกับกลุ่มอื่น แล้วให้นักเรียนศึกษาตัวอย่าง
โครงการในหนังสือเรียน
4) นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนในหนังสือเรียน จากนั้นนำมาปรึกษาครู โดยครูจะต้องพิจารณาความเหมาะสมและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนด้วย แล้วจึงให้นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่วางแผนไว้
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
1) นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลที่ได้จากการแก้ปัญหามารายงานหน้าชั้นเรียน จากนั้นครูและ
นักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
2) ครูถามคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย ดังนี้
– จากการสำรวจสภาพปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ มีลักษณะเป็นอย่างไร
– กิจกรรมใดบ้างของประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชน ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาสิ่งแวดล้อม
– นักเรียนแก้ไขปัญหาอย่างไร และสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้หรือไม่
– นักเรียนคิดว่าใครบ้างที่ควรจะร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้
3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสรุปผลการอภิปราย ซึ่งอาจจะได้ข้อสรุป ดังนี้
– ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการกระทำของ
มนุษย์ ทั้งนี้เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความต้องการปัจจัยต่าง ๆ เพื่อ
การดำรงชีพ จึงมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด อีกทั้งการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ระมัด-
ระวัง มีการปล่อยของเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ไปสู่สิ่งแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหา
สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมา ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน เช่น การเน่าเสียของแหล่งน้ำ มลพิษทางอากาศ และ
สารเคมีปนเปื้อนในดิน เป็นต้น ในการป้องกันและแก้ปัญหานั้น ทุกคนในชุมชนจะต้องร่วมมือร่วมใจกัน
และต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
4) ครูอธิบายเนื้อหา เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในหนังสือเรียน
และให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม
4. ขั้นขยายความรู้
ครูมอบหมายงานให้นักเรียนไปค้นคว้า เรื่อง ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ระดับประเทศ พร้อมทั้งสืบค้นว่าปัญหาเหล่านั้นมีวิธีการแก้ไขอย่างไร และผลเป็นอย่างไรบ้าง โดยค้นคว้าจากเว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนต่าง ๆ เช่น กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม และมูลนิธิพลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรายงานการปฏิบัติการของหน่วยงานต่าง ๆ หรืองานวิจัยของนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น จากนั้นจัดทำเป็นรายงานส่ง
นอกจากนี้ครูอาจจะให้นักเรียนเผยแพร่ผลการปฏิบัติการโครงงาน โดยการจัดป้ายนิเทศหรือ
นิทรรศการ เป็นต้น
5. ขั้นประเมิน
1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใด
บ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการ
แก้ไขอย่างไรบ้าง
3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
– ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรดินมีอะไรบ้าง
– สาเหตุของมลพิษทางอากาศเกิดจากกิจกรรมใดบ้าง
– นักเรียนอธิบายกลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่ อย่างไร
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปสาระสำคัญ เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการปฏิบัติกิจกรรมและที่ได้เรียนรู้


การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 15 การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เวลา 2 ชั่วโมง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของการพัฒนา การพัฒนาที่ยั่งยืน และการอนุรักษ์ได้
2. เสนอแนวคิดในการดูแลรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนได้
3. จัดทำโครงการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี และร่วมมือกับชุมชนในการปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูทบทวน เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติกิจกรรม
พัฒนากร–พัฒนาการ ที่นักเรียนได้ปฏิบัติไปแล้ว แล้วตั้งประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่ประเด็นการอภิปราย ดังนี้
– การพัฒนาลักษณะใดที่เรียกว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน
– การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามความคิดของนักเรียนหมายถึงอะไร
– การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลดีเสมอไปหรือไม่
เพราะเหตุใด
2. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การจัดการ
เรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ขั้นสอน
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นสร้างความสนใจ
ครูชักนำนักเรียนให้เห็นว่า สามารถรณรงค์ให้สมาชิกในชุมชนได้เห็นความสำคัญของการ
เสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต โดยการจัดทำโครงการดังต่อไปนี้
2. ขั้นสำรวจและค้นหา
1) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเท่า ๆ กัน ให้แต่ละกลุ่มศึกษาใบงานที่ 17 หรือกิจกรรมที่ 17 เรื่อง การเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดี ในหนังสือเรียน
2) นักเรียนแต่ละกลุ่มปรึกษาหารือกันเพื่อเลือกทำโครงการที่มีส่วนในการรณรงค์และแก้ไข
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ เมื่อเลือกโครงการได้แล้วแจ้งให้ครูได้ทราบ
3) นักเรียนแต่ละกลุ่มระดมความคิด ศึกษาค้นคว้า อภิปราย และช่วยกันคิดวางแผนจัด
ทำโครงการ จากนั้นเขียนแผนหรือเค้าโครงของโครงการตามหัวข้อที่กำหนดให้ในหนังสือปฏิบัติการ โดย
ครูจะต้องดูแลและให้คำปรึกษากับนักเรียนอย่างใกล้ชิด
4) ลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ในเค้าโครงของโครงการ พร้อมทั้งบันทึกผลการปฏิบัติ
ประเมินผลการปฏิบัติ และสรุปผลของโครงการ
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
1) นำผลการดำเนินโครงการของแต่ละกลุ่มมาอภิปรายร่วมกันที่ชั้นเรียน โดยในการอภิปรายนั้นนอกจากหัวข้อที่กำหนดในโครงการแล้ว ครูควรจะซักถามถึงปัญหาและอุปสรรคในระหว่างลงมือปฏิบัติตามแผนโครงการ และนักเรียนได้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นนั้นอย่างไร
2) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติโครงการ ซึ่งควรจะได้ข้อสรุป ดังนี้
– การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นจะต้องเป็นการพัฒนาที่มีการคำนึงถึงความเสียหายของสิ่งแวดล้อม มีการป้องกันปัญหาที่เกิดแก่สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม เพราะถึงแม้จะมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากเพียงใด แต่สิ่งแวดล้อมกลับเสื่อมโทรม ประชาชนก็ไม่สามารถที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ดังนั้นประชาชนทุกคนจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันรักษาสิ่งแวดล้อม
– แนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนมีดังนี้
(1) การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(2) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) การหลีกเลี่ยงความล้มเหลวของกลไกรัฐที่เกี่ยวข้อง
(4) การรักษาทางเลือกสำหรับอนาคต
(5) หยุดการเจริญเติบโตของประชากร
(6) การกระจายความมั่นคงให้แก่กลุ่มที่ยากจน
(7) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ
3) ครูอธิบาย เรื่อง การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนใน
หนังสือเรียนแล้วให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม

4. ขั้นขยายความรู้
ครูยกตัวอย่างการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมในลักษณะโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการคัดแยก
ขยะก่อนทิ้ง และโครงการคลองสวยน้ำใส เป็นต้น
5. ขั้นประเมิน
1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใด
บ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการ
แก้ไขอย่างไรบ้าง
3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
– การพัฒนากับการพัฒนาที่ยั่งยืนต่างกันในเรื่องใด
– แนวทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมีอะไรบ้าง
– ขยะชนิดใดบ้างที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก (reuse)
– นักเรียนมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่อง การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากการปฏิบัติโครงการ
และที่ได้เรียนรู้

ครูตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาการของนักเรียน โดยให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน เมื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสร็จสิ้น

กระบวนการวัดและประเมินผล
1. วิธีการวัด
- การทดสอบด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
- ปฏิบัติกิจกรรมสืบค้นข้อมูล (กระบวนการกลุ่ม)
- อภิปรายกลุ่มย่อยและนำเสนอผลงาน
- ตรวจผลงาน
2. เครื่องมือวัด
- แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
- แบบบันทึกผลจากการสังเกตการปฏิบัติงานกลุ่ม (แบบสังเกต 1)
- แบบบันทึกผลจากการสังเกตด้านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ (แบบสังเกต 2)
- แบบบันทึกผลจากการประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (แบบประเมิน 1)
- แบบประเมินรายงานการค้นคว้า (แบบประเมิน 3)
- แบบประเมินโครงงาน (แบบประเมิน 4)
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
1. นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เรื่อง ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับประเทศจากรายงานการปฏิบัติการของหน่วยงานต่าง ๆ งานวิจัยของนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง เว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนต่าง ๆ เช่น กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมูลนิธิพลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น แล้วจัดทำรายงานส่งครู
2. ดูวีดิทัศน์เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากการเพิ่มประชากร
3. ครูยกตัวอย่างการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมในลักษณะโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง โครงการคลองสวยน้ำใส เป็นต้น
4. นักเรียนเลือกทำโครงงานต่อไปนี้ (เลือก 1 ข้อ)
1) โครงงานสำรวจข้อมูล เรื่อง อัตราการเพิ่มของประชากรในชุมชน
2) โครงงานศึกษาค้นคว้า เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
3) โครงงานศึกษาค้นคว้า เรื่อง การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. วีดิทัศน์เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากการเพิ่มประชากร
2. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
3. สื่อ สิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง
4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาแต่ละกิจกรรม
5. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 บริษัท
สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
6. หนังสือปฏิบัติการสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 บริษัทสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
7. ห้องสมุด
8. แบบสังเกต 1-2
9. แบบประเมิน 1, 3 และ 4
บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
1. ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้
แนวทางการพัฒนา
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้
แนวทางแก้ไข
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน
เหตุผล
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้

แบบทดสอบหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 2 ประชากรและทรัพยากรธรรมชาติ
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ผลกระทบอันดับแรก จากการเพิ่มของประชากรมนุษย์อย่างรวดเร็ว คือ
ก ปัญหาทางสังคม
ข ปัญหาด้านการศึกษา
ค ปัญหาด้านการว่างงาน
ง ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
2. มนุษย์ควรใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไรจึงจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ก ใช้ตามความต้องการ
ข ใช้อย่างระมัดระวังที่สุด
ค ใช้เฉพาะทรัพยากรหมุนเวียน
ง นำทรัพยากรมาพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิต
3. ป่าไม้และสัตว์ป่าจัดเป็นทรัพยากรประเภทใด
ก ทรัพยากรหมุนเวียน
ข ทรัพยากรทดแทนได้
ค ทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น
ง ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปและทดแทนไม่ได้
4. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะของดิน
ก การตัดไม้ทำลายป่า
ข การไถพรวนดินไม่ถูกวิธี
ค การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ง การปลูกพืชหมุนเวียนจำพวกพืชตระกูลถั่ว
5. แก๊สในข้อใดเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
ก คาร์บอนไดออกไซด์
ข คาร์บอนมอนอกไซด์
ค ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ง ไนโตรเจนไดออกไซด์

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552



นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา
การใช้เทคโนโลยี
วิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ เรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (Technology) เทคโนโลยีจึงเป็นการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในกิจการด้านต่างๆเฉพาะทาง เช่น การใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสาร การแพทย์ การทหาร การศึกษา เป็นต้น
การใช้เทคโนโลยี
- เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม นับว่าเป็นเทคโนโลยี ที่มีความก้าวหน้า อย่างเห็นได้ชัดที่สุดเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมที่สำคัญอย่างหนึ่งในยุคปัจจุบันคือ การใช้คอมพิวเตอร์เก็บบันทึกข้อมูล ซึ่งสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง มีเครือข่าย อินเตอร์เน็ต (Internet) เชื่อมโยงข้อมมูลได้ถึงกันทั่วโลก การใช้เทคโนโลยีในลักษณะนี้บางครั้งเรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที (IT:Information Technology)
- เทคโนโลยีการทหาร การประดิษฐ์ด้านอาวุธ มีการพัฒนาการไปมากอย่างที่เราทั้งหลายคาดไม่ถึง อาวุธที่ใช้ในการต่อสู้ทุกชนิด พัฒนาขึ้น มีอำนาจการทำลายล้าง ความแม่นยำ รัศมีทำการไกล
- เทคโนโลยีการเกษตร การเกษตรในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาไปอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการประดิษฐ์คิดค้น เครื่องทุ่นแรงทางการเกษตร เทคนิควิธีการปรับปรุง และขยายพันธ์พืช พันธุ์สัตว์การเพื่มปริมาณการผลิต นับว่าเทคโนโลยีทางเกษตร ได้ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอาหารลงได้มาก
- เทคโนโลยีการศึกษา มีการนำเทคโนโลยีไปใช้งานได้หลายรูปแบบ ทั้งในทางการบริหารและการเรียนการสอน เมื่อกล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา (Education Technology) มักจะหมายถึงการใช้เทคโนโลยีที่มีเป้าหมายด้านการเรียนการสอน (Instructional Technology) ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีในลักษณะใหญ่ๆ 5 ลักษณะ ดังนี้
1.เทคโนโลยีการพิมพ์
2.เทคโนโลยีโทรคมนาคมรวมถึงโทรทัศน์ วิทยุ และการสื่อสารรูปแบบอื่นๆ
3.ภาพยนตร์และโทรทัศน์ วีดีทัศน์ หรือสื่ออื่นๆที่แสดงภาพเคลื่อนไหวและเสียง
4.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ
5.การเชื่อมโยงวิทยาการและเทคโนโลยีสาขาต่างๆมาใช้
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
นักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้หลายลักษณะ
โดยสังเขปดังนี้
พจนานุกรมการศึกษา (Dictionary of Education) ได้ให้ความหมายว่า "การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่จุดประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่ายึดเนื้อหาวิชาใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์การสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง" เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวความคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขี้น
สรุป เทคดนโลยีทางการศึกษาเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีทางการศึกษา หมายถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงหลักทางการจิตวิทยา มาใช้ปกิบัติในการแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งด้านการบริหารและการเรียนการสอน ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการคือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
เทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งหมายถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา การเปลี่ยนแปลงการศึกษาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นผลมาจากองค์ประกอบ 3 ประการ ดังนี้
1.ปัญหาหรือวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และแนวดน้มของปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
2.เอกลักษณ์ ค่านิยม และเจตคติในปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้ม
3.ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่มีขึ้นในอนาคต
แนวทางการปฏิรูปการศึกษา
1.ปฏิรูประบบและกระบวนการเรียนรู้
2.ปฏิรูประบบการจัดการศึกษาให้เป็นระบบการศึกาตลอดชีวิต
3.การปฏิรูปการฝึกหัดครู การพัฒนาครู
4.การปฏิรูประบบการบริหารการจัดการด้านการศึกษา

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษา
คำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า “ศาสตร์” หรือ “วิทยาการ” ดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้ และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกรมขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม"
อีกตัวอย่างหนึ่งการประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพเกี่ยวกับแสง เสียงและอิเล็กทรอนิกส์บนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ใช้ระบบเลขฐานสองทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อประสมประสานกับผลการประยุกต์ทาง พฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักการวิเคราะห์งาน และทฤษฎีสื่อการเรียนการสอนแล้วทำให้ได้ผลผลิตทางเทคโนโลยีการศึกษา คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI)
จากข้อพิจารณาดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษามีสองลักษณะที่เน้นหนักแตกต่างกัน คือ
1. เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายนี้พัฒนามาจากความคิดของกลุ่มนักโสต-ทัศนศึกษา
2. เทคโนโลยีการศึกษามีความหมายโดยตรงตามความหมายของเทคโนโลยี คือ ศาสตร์แห่งวิธีการ หรือการประยุกต์วิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา โดยคำว่า”วิทยาศาสตร์”ในที่นี้มุ่งเน้นที่วิชาพฤติกรรมศาสตร์ เพราะถือว่าพฤติกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น
เทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญและมีความจำเป็นที่เด่นชัดในปัจจุบันนี้ คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการศึกษาด้วยเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้
1. ความเจริญอย่างรวดเร็วทางด้านวิชาการต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา วิทยาการใหม่ ๆ และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้ถูกค้นคิดประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในสังคมมากมายเป็นทวีคูณ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา และส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อไปถึงปัญหาการเรียนการสอน การเลือกโปรแกรมและการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระใหม่ๆ ของนักเรียน ความรุนแรงและความสลับซับซ้อนของปัญหาเหล่านี้มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณเนื้อหาวิชาการใหม่ ๆ มีมากมายเกินความสามารถของผู้เกี่ยวข้อง จะเลือกบันทึกจดจำและนำเสนอในลักษณะเดิมได้ จึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์เข้ามาช่วย เช่น การเสนอข้อมูลทางวิชาการโดยเทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ ไมโครฟอร์ม และแผ่นเลเซอร์ การแนะแนวการเรียนโดยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังกล่าวมาแล้ว มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต การปรับตัว และพัฒนาการของนักเรียน การแนะแนวส่วนตัวและสังคมแก่นักเรียน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ จึงจะสามารถให้บริการครอบคลุมถึงปัญหาต่าง ๆ ได้
3. ลักษณะสังคมสารสนเทศหรือสังคมข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้ข่าวสารทุกรูปแบบ คือ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟฟิก และข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถถ่ายทอดและส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็วทุกมุมโลก สังคมในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นสังคมที่ท่วมท้นด้วยกระแสข้อมูลและข่าวสาร
ข้อมูลและข่าวสารจำนวนมหาศาลจะอยู่ที่ความต้องการของผู้ใช้อย่างง่ายดายมาก ความจำเป็นที่สถานศึกษาจะต้องเป็นแหล่งให้ข้อมูลข่าวสารจะหมดความสำคัญลง การแนะแนวในสถานศึกษาจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการทำตัวเป็นแหล่งให้ข้อมูลมาเป็นการแนะแหล่งข้อมูล แนะนำการเลือกและการใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งบทบาทอย่างนี้จะทำให้สำเร็จได้ยากหากไม่สามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศในปัจจุบัน
มีผู้ให้คำนิยามของคำว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ไว้ดังนี้
วิจิตร ศรีสอ้าน (วิจิตร ,2517)ห้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน
นอกจากนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2546)ยังได้สรุปเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนว่า "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" มีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้ และการพัฒนาสื่อสารมวลชน(อันได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ(คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสารอื่นๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและทุกสถานที่
ทบวงมหาวิทยาลัย (ทบวงมหาวิทยาลัย,2546) นิยามว่า "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษา โดยการนำสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มาใช้เพื่อจัดให้การศึกษาที่สามารถผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ เพื่อให้การเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตทั้งด้านการศึกษาสาระความรู้ทางวิชาการ ทางศาสนา และศิลปะ วัฒนธรรม สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาตามความหมายของทบวงมหาวิทยาลัยนั้น ครอบคลุมสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตโทรสาร โทรศัพท์ และโทรคมนาคมอื่นรวมทั้งแหล่งการเรียนรู้ทั่วไป โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เต็มตามศักยภาพ ปราศจากข้อจำกัดด้านโอกาส ถิ่นที่อยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
"เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" ตามความหมายของร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง การนำสื่อตัวนำ คลื่นความถี่ และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการแพร่เสียง ภาพ และการสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม สื่อโสตทัศน์ แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการและแหล่งการเรียนรู้หรือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติกำหนด
Carter V. Good(good,1973) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดนเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชามีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆ ในลักษณะของสื่อประสมและการศึกษาด้วยตนเอง
Gagne' และ Briggs (gagne',1974)ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้น พัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ โดยรวมถึง
1.ความสนใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียน แบบโปรแกรม และ บทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
2.ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฏีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฏีการเสริมแรงของ B.F. Skinner
3.เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย
Heinich,MolendaและRussel(Heinich,1989) เสนอว่า เทคโนโลยีการศึกษาคือการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ให้ปฏิบัติได้ในรูปแบบของการเรียนและการสอนอีกนัยหนึ่งก็คือ การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (ทั้งด้านยุทธวิธี Tactic และด้านเทคนิค) เพื่อแก้ปัญหาทางการสอนซึ่งก็คือความพยายามสร้างการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการออกแบบ ดำเนินการและประเมินผลการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานของการศึกษาวิจัยในการเรียนและการสื่อสาร
กิดานันท์ มลิทอง(2545) ปัจจุบันนี้สมาคมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและการสื่อสารได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นทฤษฏีและการปฏิบัติของการออกแบบ การพัฒนาการใช้ การจัดการ และการประเมิน ของกระบวนการและทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้ดังภาพต่อไปนี้
http://www.nmc.ac.th/database/file_science/unit1.doc

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม (Innovation) เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติขึ้นเดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new)
Innovate แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่,เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คองพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม
1. เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2. มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน ข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - เครื่องสอน (Teaching Machine) - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) -การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น - มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป - ชุดการเรียน

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552